News | 26 Mar 2021

ค่าไฟจะแพงขึ้นไหม ในวันที่ประเทศไทยอนุญาตให้ซื้อขายไฟฟ้า?

Electric Bill of Household & Industrial

ปัจจุบัน โครงสร้างค่าไฟฟ้าในประเทศไทย ประกอบไปด้วย 4 ค่า คือ ค่าไฟฟ้าฐาน, ค่า Ft, ค่าบริการ และภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งมีวิธีคำนวณที่ต่างกันไปตามประเภทหรือขนาดของการใช้งาน

Electric Bill of Household

สำหรับประเภทบ้านเรือน ที่อยู่อาศัย กิจการขนาดเล็ก ค่าไฟฟ้าฐานในระดับนี้จะประกอบด้วย ค่าพลังงานไฟฟ้า (Energy Charge) + ค่าบริการ (Service Charge) + ค่าไฟฟ้าผันแปร (FT Charge) โดย

ค่าพลังงานไฟฟ้า หรือ Energy Charge คือ ค่าไฟที่คิดจากปริมาณการใช้ไฟฟ้า (ตามหน่วย หรือ kWh) ที่ใช้ในแต่ละเดือน ซึ่งมีอัตราค่าไฟฟ้าที่แตกต่างกันไปตามประเภทของการใช้ไฟฟ้า

ค่าบริการ หรือ Service Charge คือ ค่าบริการเกี่ยวกับ meter ค่าดำเนินการในการจดหน่วย การจัดทำและส่งใบสรุปค่าไฟฟ้า รวมถึงระบบรับชำระค่าไฟฟ้า

ค่าพลังไฟฟ้าผันแปร หรือ FT Charge คือ ค่าที่รองรับการผันแปรของต้นทุนเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของการไฟฟ้า โดยจะปรับเปลี่ยนเพิ่มขึ้นหรือลดลงขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ค่าใช้จ่ายด้านเชื้อเพลิง ค่าซื้อไฟฟ้า ค่าใช้จ่ายตามนโยบายภาครัฐ หรือจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทกับเงินต่างประเทศ เป็นต้น ซึ่งสามารถเป็นได้ทั้งค่าบวกและค่าลบ โดยจะมีการปรับทุก ๆ 4 เดือน

ซึ่งเมื่อรวมภาษีมูลค่าเพิ่ม (Vat) 7% จะเท่ากับค่าไฟฟ้าที่เราจ่ายในปัจจุบัน ตามโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.)

Electric Bill of Industrial

ในขณะที่ผู้ใช้ในระดับกิจการขนาดกลางขึ้นไป การคิดค่าไฟฟ้าฐานจะรวมค่าพลังไฟฟ้าสูงสุด (Demand Charge) และค่าเพาเวอร์แฟคเตอร์ (Power factor charge) เพิ่มเข้าไปด้วย

ค่าพลังไฟฟ้าสูงสุด หรือ Demand Charge คือ ค่าความต้องการพลังไฟฟ้าที่ภาครัฐเรียกเก็บสำหรับการรักษาการจ่ายไฟฟ้าให้ต่อเนื่อง โดยคิดจากค่ากำลังไฟฟ้าเฉลี่ยใน 15 นาทีที่สูงสุดในรอบเดือน

ค่าเพาเวอร์แฟคเตอร์ หรือ Power factor charge คือ ค่าความต้องการพลังไฟฟ้ารีแอคตีฟเฉลี่ยใน 15 นาทีที่สูงสุดเทียบกับค่าพลังไฟฟ้าสูงสุดในรอบเดือน จะเรียกเก็บเฉพาะผู้ใช้ไฟฟ้ากิจการขนาดกลาง, ใหญ่ และเฉพาะอย่างเพื่อใช้สำหรับการรักษาค่า power factor ในระบบสายส่ง

เมื่อประเภทผู้ใช้ไฟฟ้ามีขนาดที่ใหญ่ขึ้นเป็นระดับกลางขึ้นไป จะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมเข้ามา เป็นค่าพลังไฟฟ้าสูงสุด และ ค่าเพาเวอร์แฟคเตอร์ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญสำหรับวางแผนการก่อสร้างในระบบไฟฟ้าในปัจจุบัน

Wheeling Charge & Loss Charge 

ทั้งนี้ หากมีการเข้ามาของเทคโนโลยีการซื้อขายพลังงาน (Energy Trading) ในอนาคต จะมีส่วนช่วยกระตุ้นให้ผู้ใช้ไฟฟ้าสามารถใช้พลังงานหมุนเวียนของตัวเองได้มากขึ้น ส่งผลให้เกิดการขยายตัวของการใช้พลังงานสะอาดในระดับบ้านเรือนที่อยู่อาศัย ส่งผลให้ภาครัฐจำเป็นต้องเปลี่ยนรูปแบบการทำธุรกิจไฟฟ้าโดย ลดบทบาทผู้ขายพลังงานและเพิ่มบทบาทผู้ให้บริการแทน เพื่อรองรับแนวโน้มการใช้ไฟฟ้าที่จะเปลี่ยนไปในอนาคต

ด้วยเหตุนี้ จากบทบาทของการเป็นผู้กำกับและดูแลระบบสายส่ง (Transmission Line) การไฟฟ้าจึงได้มีการกำหนดค่า Wheeling Charge และ Loss Charge ขึ้นมา

Wheeling Charge คือ อัตราค่าบริการในการใช้ระบบจำหน่ายของการไฟฟ้าเมื่อมีการซื้อขายไฟฟ้าโดยตรงระหว่างผู้ผลิตและผู้ใช้ไฟฟ้า ทั้งนี้ปัจจุบันยังไม่มีการใช้ค่าบริการสายส่งในประเทศไทย ซึ่งเป็นหน้าที่ของทางภาครัฐในการกำกับราคาที่เหมาะสมของ Wheeling Charge เพื่อสะท้อนค่าใช้จ่ายสำหรับการลงทุนก่อสร้างระบบจำหน่าย

Loss Charge คือ ค่าชดเชยสำหรับการสูญเสียพลังงานในระบบจำหน่ายไฟฟ้า ซึ่งมีวิธีคำนวณที่หลากหลาย จึงยังเป็นที่ถกเถียงเพื่อหาวิธีคำนวณที่สามารถยอมรับได้ทุกฝ่าย ซึ่งการคำนวณที่แม่นยำ จำเป็นจะต้องใช้เวลาคำนวณและข้อมูลที่มากขึ้นตามไปด้วย

อย่างไรก็ตาม การหาราคาและวิธีคิดที่เหมาะสมของ Wheeling Charge และ Loss Charge ยังคงเป็นความท้าทายสำคัญที่ทุกภาคส่วนควรจะช่วยกันผลักดันให้เกิดการซื้อขายพลังงานไฟฟ้าในประเทศ ยิ่งเตรียมพร้อมเร็วมากเท่าไร ก็จะยิ่งมองเห็นโอกาสมากขึ้นเท่านั้น

Reference:
https://www.mea.or.th/profile/109/114
https://www.thebangkokinsight.com/511637/
http://ubonratchathani.rid.go.th/ubonrid7/km/media/53Ft.pdf
http://elibrary.eppo.go.th/upload/mod_book/preview-00134.pdf
https://www.appp.or.th/imgadmins/document/24151037.pdf
http://www.erc.or.th/ercweb2/Upload/PublicHearing/27422014034242ERCFR_PB_1014.pdf

Share


Other News & Updates

29 Dec 2022 | News

คาร์บอนเครดิตสร้างรายได้ ได้จริงหรือ?

คาร์บอนเครดิต หมายถึง สิทธิที่ได้รับจากการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือก๊าซเรือนกระจกสู่สิ่งแวดล้อม มีหน่วยเป็น ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ซึ่งการที่จะได้รับสิทธิดังกล่าวมานั้น จะต้องมีการดำเนินโครงการที่มีการวัดผลได้อย่างเป็นรูปธรรมและผ่านการตรวจสอบจากผู้ตรวจสอบของมาตรฐานคาร์บอนเครดิต โดยการได้มาซึ่งคาร์บอนเครดิตมาตรฐานของประเทศไทยจะต้องสมัครขึ้นทะเบียนโครงการภายใต้โครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (Thailand Voluntary Emission Reduction Program: T-VER) ซึ่งมีผู้ให้

20 Dec 2022 | News

Green loan การกู้ยืมสีเขียว

Green loan หรือการกู้ยืมสีเขียว คืออะไร? Green loan เป็นหนึ่งในเครื่องมือทางการเงินสำหรับตอบสนองต่อผู้ที่ต้องการกู้ยืมเพื่อทำโครงการที่เป็นประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมในสภาวะโลกร้อนในปัจจุบัน

14 Dec 2022 | News

การรีไซเคิล คือ คำตอบของการแก้ปัญหาขยะพลาสติก จริงเหรอ?

ปฏิเสธไม่ได้ว่าพลาสติกเป็นส่วนสำคัญในชีวิตประจำวัน ทั้งในการการดื่มกิน ใช้สวมใส่ ใช้ช้อปปิ้ง และอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ช่วยชีวิตเรา เนื่องจากพลาสติกมีความแข็งแรง ยืดหยุ่น ราคาถูก สามารถหล่อเป็นสิ่งต่างๆได้นับพันชนิด ตอบสนองต่อความต้องการในชีวิตปัจจุบัน

logo

139 Sethiwan Tower, 4th Floor, Pan Rd, Silom, Bang Rak, Bangkok 10500
+66 8 4034 4240
[email protected]

Follow Us

newnewnew